วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

1. ด้าน Hardware

Hard Ware 
 
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)  หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน


ามารถแบ่งส่วนประกอบของ Hardware ได้เป็น 5 หน่วยที่สำคัญ คือ
1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการรับโปรแกรม และข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูลเข้า ได้แก่ แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด (Keyboard) เครื่องสแกนต่างๆ เช่น เครื่องรูดบัตร สแกนเนอร์ ฯลฯ


2.หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำ หน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไป

3.หน่วยประมวลผลกลาง (CPU หรือ Central Processing Unit) ทำ หน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม หน่วยนี้จะประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ อีก 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยคำนวณเลขคณิตและตรรกวิทยา (ALU หรือArithmetic and Logical Unit) และ หน่วยควบคุม (CU หรือ Control Unit)

4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storge) ทำ หน้าที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่อง ก่อนทำการประมวลผลโดย ซีพียู รวมทั้งเป็นแหล่งเก็บผลลัพท์จากการประมวลผลด้วย เพื่อการใช้งานในภายหลัง

5. หน่วยแสดงข้อมูล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพท์จากการประมวลผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

     

ด้าน Software

ด้าน Software OS ล่าสุดหรือน่าสนใจ



เป็น OS ใหม่ล่าสุดจาก Microsoft ออกมาพร้อมโฉมหน้าการใช้งานแบบที่เรียกว่าน่าทึ่งไปเลยทีเดียวกับ Windows Mobile 7 พร้อมเปลี่ยน Logo ใหม่การมาของ OS ใหม่ Windows Mobile 7 ตอนนี้เอง ก็มีโฉมหน้า และการใช้งานออกมาแล้ว มีฟีเจอร์การใช้งานมากมายที่น่าทึ่ง อาจจะเรียกว่า OS ตัวนี้เป็นการผลิกโฉมหน้าของ Windows Mobile กันอีกครั้งหนึ่ง

มีอะไรใหม่บ้างใน Windows Mobile 7
สำหรับ Windows Mobile 7 นี้ จะมาเปลี่ยนวิธีการใช้งานโทรศัพท์ Windows Mobile Phone ที่เรียกว่า ลืมการใช้งานในปัจจุบันนี้ไปได้เลย ซึ่งทุกๆ การใช้งานบน Windows Mobile 7 จะขึ้นอยู่กับการสัมผัสบนตัวอุปกรณ์ ที่เรียกว่า motion gesture แปลความหมายได้ว่า การเคลื่อนไหว และการแสดงท่าทาง ซึ่งในที่นี้หมายถึง การใช้การเคลื่อนไหวการสัมผัสลงบนหน้าจอของ Windows Mobile Phone นั่นเอง รวมถึงการขยับ สั่น หรือเขย่า ตัว Windows Mobile Phone เองด้วย  และแน่นอนว่ามีการใช้งาน Multi-Touch ที่เราใช้งานกันบน iPhone อยู่ในตอนนี้อยู่ด้วย
Windows Mobile 7 สามารถใช้การแสดงท่าทางในการสัมผัส คล้ายการทำงานของ iPhone สามารถ scroll หน้าต่าง ได้ง่ายในกรณีที่มีข้อมูลเกินหนึ่งหน้า และยังสามารถใช้การวาดลงบนหน้าจอเพื่อควบคุมการมองเช่น ย่อหรือขยายหน้าจอขณะนั้นๆ รวมถึงแพน หน้าจอไปยังส่วนต่างๆ ได้นอกจากนี้ยังนำ Motion Gestures มาประยุกต์การทำ งานต่างๆ สามารถนำกล้องมาใช้งานตรวจสอบการเคลื่อนไหวสร้างแอคชั่นแบบต่างๆ ได้ และยังสามารถใช้การ เขย่า หรือหมุนเครื่อง เพื่อจะทำบางสิ่งบางอย่าง เช่นปลดล็อคหน้าจอ และยังฉลาดพอที่จะรู้ว่าสามารถดับหน้าจอเวลาไหนที่ใช้งาน ขณะไม่ใช้งานก็จะดับเองโดยอัตโนมัติ
Windows Mobile 7 ยังได้รับอิทธิพลจาก Windows Vista  ที่นำการใช้งานและรูปแบบของอินเตอร์เฟส และฟีเจอร์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้งานบน Windows Mobile 7 โดย เฉพาะเรื่องหน้าตา กราฟิค หรือเอฟเฟ็คต่างๆ และนอกจากนี้ยังออกแบบมาให้ใช้ควบคุมการทำงานโดยการใช้นิ้วของเรา โดยเฉพาะ ไม่จำเป็นต้องใช้สไตลัสกันอีกต่อไป แน่นอนว่า สามารถใช้งานทุกๆ ด้านโดยใช้มือเดียว อย่างที่เราต้องการกันในทุกวันนี้ และ OS เดิมๆ ก็ยังไม่สามารถตอบสนองการใช้งานได้ แต่ Windows Mobile 7 จะให้เราได้พบกับประสบการณ์ใหม่ๆ ง่ายต่อการทำความเข้าใจในการใช้งาน และสนุกอีกด้วย  ไม่เพียงเท่านั้น Windows Mobile 7 ยัง ออกแบบมาให้เหมาะกับอุปกรณ์ทุกชนิด ทั้งที่ไม่มีปุ่มเลย หรือมีปุ่มน้อยที่สุด หรือว่าจะมีปุ่มใช้งานมากมายนับไม่ถ้วน หรือบนอุปกรณ์ที่มี keyboard (QWERTY) หรือว่าอุปกรณ์ที่ไม่สามารถสัมผัสหน้าจอได้ก็ตาม เรียกว่ารองรับทุกอุปกรณ์
Windows Mobile 7 ถูกออกแบบมาให้เรียบง่าย สะดวกกับการใช้งานทางด้าน mutimedia ทั้งการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ วีดีโอรวมถึง เกมส์ และแน่นอนจุดอ่อนสำหรับ Windows Mobile ที่มีมายาวนานก็คือ Browser ที่จะได้พบกับการใช้งานแบบใหม่ โดยใช้การแทปหน้าจอ หรือนำเอาการเขย่าเครื่อง หรือเอียงเครื่องมาใช้ในการเปลี่ยนหน้าเว็บเพจ
 

3.ด้าน People ware

สายงานด้านไอที

สำหรับ สายงานด้านไอทีปัจจุบันมีให้เลือกสมัครจำนวนมาก รวมทั้งมีตำแหน่งงานมากที่สุดแทบจะว่าได้สำหรับอัตตราเงินเดือนของคนทำงาน สายไอที อันนี้น่าจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สมัครเอง การเรียกอัตตราเงินเดือนนั้นขึ้นอยู่กับฐานบริษัทเป็นหลัก
1.อาชีพสายฐานข้อมูล (Database Jobs)
ทำหน้าที่ดูแลฐานข้อมูลขององค์กร
ตัวอย่าง อาชีพสายสายฐานข้อมูล เช่น
- Database Administrator (DBA)
- PL/SQL Developer
- Lotus System Analyst
- Database Architect
- Oracle Database Administrator (DBA)
- Data Warehouse Specialist
- Oracle Programmer
- Data Warehouse Developer
- Oracle Forms Developer
- DB2 Database Administrator
- Lotus Notes Developer
- MySQL Engineer
- MySQL DBA
2.อาชีพสาย CRM/ERP
ทำหน้าที่ดูแลฐานข้อมูลลูกค้า และระบบจัดการบุคคลากรในหน่วยงาน
CRM : Customer Relationship Management
ERP : Enterprise Resource Planning
ซอฟต์แวร์ยอดนิยมในปัจจุบัน เช่น SAP (Systems, Applications and Products)
ตัวอย่าง อาชีพสาย CRM/ERP เช่น
- ERP Specialist
- SAP Basis Administrators
- SAP Specialist
- SAP Analyst : MM
- SAP Analyst : SD
- SAP Apprication Manager
- SAP Project Manager
- CRM Manager
- CRM Program Management
- CRM Business Data Manager
3.สายเว็บไซต์ (Website)
สำหรับอาชีพสายเว็บไซต์ ปัจจุบันนับเป็นอาชีพ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
ตัวอย่าง อาชีพสายเว็บไซต์ เช่น
- Web Programmer / Web Developer ทำหน้าที่พัฒนาแอพลิเคชั่น
- Web Designer ทำหน้าที่ออกแบบความสวยงานของเว็บไซต์
- Web Content ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลก่อนนำมาใส่ลงเว็บไซต์
- Web Marketing ทำหน้าที่ทำการตลาด ทำรายได้ให้ตัวเว็บไซต์สร้างมูลค่าขึ้นมาได้
- Web Master / Web Manager ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมเว็บ
- E-Commerce Developer พัฒนาระบบหน้าร้านขายของ
- Creative Web Designer
- Senior Web Designer
- Flash Programmer เน้นพัฒนาแอพลิเคชั่นด้วย Action Script
4.อาชีพสายไอทีอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ตัวอย่าง อาชีพสายไอทีอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น
- นักเขียนหนังสือ (IT Book)
- นักเขียนนิตยสาร/หนังสือพิมพ์ (Columnist)
- นักข่าวสายไอที (Reporters)
- บรรณาธิการนิตยสารไอที
5.อาชีพสายพนักงานไอที
ตัวอย่าง อาชีพสายพนักงานไอที เช่น
- IT Officer
- System Operator
- IT Operator
- Computer Operator


ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

 
 
ปัญญา ประดิษฐ์ หรือ เอไอ หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นกับสิ่งที่ไม่มมีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวะกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา Acting Humanly : การกระทำคล้ายมนุษย์ เช่น
      - สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้
      - มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)
      - หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
      - machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
       Thinking Humanly : การคิดคล้ายมนุษย์ ก่อน ที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร
       Thinking rationally : คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ
       Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น agent (agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลคือ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ใน ระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่ สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้จึงจะเรียกได้ ว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น agent ในเกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น

ทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)

เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) 
 เทคโนโลยีการสื่อสาร  หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่มได้แก่
      1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion  Picture Technology)

      2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)
      3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
      4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)

 บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ ดาว-เทียมเพื่อการสื่อสาร โครงข่ายโทรศัพท์ อุปกรณ์ ภาพและเสียง มีผลกระทบต่อ "สื่อแบบดั้งเดิม" (Traditional Media) ซึ่งได้แก่หนังสือพิมพ์ นิตยสารวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทําให้ เกิดสิ่งที่เรียกว่า "การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข" (Digital Revolution) ทํา ให้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหวรูปภาพ หรืองานกราฟิก ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด คือสามารถอ่านและส่งผ่านได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถนําเสนอในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการใชhงานของผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า "การทําให้เป็นระบบตัวเลข" หรือ"ดิจิไทเซชั่น" (Digitization)ด้วยระบบที่มีการทําให้เป็นระบบตัวเลข เป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ทําให้เกิด "สื่อใหม่" (New Media) ขึ้น เป็นสื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ "อินเตอร์ แอคทีฟ"(Interactive)  เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)  คือเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Technology) ประเภทหนึ่งซึ่งได้พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ การสื่อสาร(Communication)” หรือ การขนส่งข่าวสาร (Transfer of Information)” เทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice) หรือทางด้านข้อมูล (Data) ได้ รับการพัฒนาจนมนุษย์สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วและเป็น เครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age)และเป็นสังคมสาร- สนเทศ (InformationSociety) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ศัพท์ IT ครั้งที่ 5

post office protocol เป็นโปรโตคอลที่สำคัญมากอันหนึ่งในระบบอีเมล์ของอินเตอร์ โดย POP จะดูแลเกี่ยวกับการ ดึงข้อมูลอีเมล์จากเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องพีซีของผู้ใช้งาน โปรดดู Internet Mail Access Protocol และ simple mail transport protocol

Pretty Good Privacy (PGP) PGP เป็นโปรแกรมที่ใช้รักษาความปลอดภัยในการรับส่งอีเมล์ โดยตัว PGP มีการ ประยุกต์ใช้วิธีการเข้ารหัสหลายแบบและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในแทบทุกแพลตฟอร์ม ข้อความอีเมล์ที่ส่งโดยใช้ PGP จะถูกเข้ารหัสโดยผู้รับสามารถใช้โปรแกรมรับส่งอีเมล์ที่รองรับโมดูลเพิ่มเติมของ PGP (PGP plug-in modules) ในการถอดรหัสเพื่ออ่านอีเมล์ที่รับมาได้

Privacy-enhanced mail (PEM) มาตรฐานบนอินเตอร์ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภับของ อีเมล์โดยใช้คีย์สาธารณะ หรือคีย์แบบสมมาตร PEM จะไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโตคอล MIME และในการใช้งานจะค่อนข้างยึดติดกับองค์ ที่ออกใบรับรองและดูแลคีย์เป็นอย่างมาก โปรดดู MIME; public key; symmetric encryption; certificate authority

Private key (คีย์ส่วนบุคคล) คีย์ที่ใช้ในการถอดหรือเข้ารหัสข้อความ โดยคีย์นี้จะมีเจ้าของเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่ทราบหรือใช้งานได้

Protocol (โปรโตคอล) กฏและข้อตกลงที่ใช้ในการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย โปรโตคอลจะคอย ดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การทำงานของโปรแกรมที่ใช้เครือข่าย การตัดแบ่งข้อมูลที่ส่งในเครือข่ายออกเป็นชุดข้อมูลย่อยๆ (packet)การเปลี่ยนข้อมูลเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อส่งไปในสื่อต่างๆ

Proxy server จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับข้อมูลต่างๆ จากนอกเครือข่ายเข้ามาที่ฅนเองก่อน เพื่อตรวจสอบ ปลอดภัยและสิทธิของผู้ที่รับส่งข้อมูลจากนั้นจึงจัดส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย ของเราที่เหมาะสมอีกทีหนึ่ง

public key cryptography วีธีการเข้ารหัสโดยใช้คีย์เป็นคู่ ๆ โดยจะมีแต่คีย์ที่คู่กันเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าและ ถอดรหัสของกันและกันได้ คีย์แรกจะทราบหรือมีอยู่ที่เฉพาะเจ้าของคีย์ซึ่งจะเรียกว่า"คีย์ส่วนบุคคล"(Private key) ส่วนคู่ของคีย์ดังกล่าวที่ส่งให้ผู้อื่นจะเรียกว่า "คีย์สาธารณะ"( public key ) โดยคีย์สาธารณะนี้จะถูกแจกจ่ายให้ผู้อื่น ที่ต้องการส่งข้อความให้แก่เจ้าของคีย์ส่วนบุคคล เพื่อให้ที่ผู้ส่งจดหมายสามารถใช้คีย์สาธารณะของบุคคลนั้น ในการเข้ารหัสแล้วจึงส่งข้อความไปให้ ซึ่งก็จะมีเพียงเจ้าของคีย์ส่วนบุคคลนั้นเพียงคนเดียวที่จะสามารถถอดรหัส และอ่านข้อความนั้นได้ ระบบการเข้ารหัสแบบนี้จะใช้กระบวนการเข้ารหัสแบบไม่สมมาตร หรือ asymmetric encryption algorithm โปรดดู asymmetric cryptography

RC2 และ RC4 เป็นกระบวนการเข้ารหัสที่ออกแบบโดยนาย Ron Rivest (ที่มาของตัวอักษร R ในบริษัท RSA Data Security Inc.ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกในระบบการเข้ารหัส) กระบวนการนี้จะใช้คีย์ที่มีความยาวแตกต่างกันไปในการเข้ารหัส แต่ละครั้ง และสามารถเข้ารหัสข้อมูลจำนวนมากๆได้อย่างรวดเร็ว RC2 และ RC4 จะเข้ารหัสได้รวดเร็วกว่า DES เล็กน้อย สำหรับระดับความปลอดภัยสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยเพิ่มความยาวของคีย์ที่ใช้ กระบวนการ RC2 จะเป็น การเข้ารหัสสำหรับข้อมูลเป็นบล็อคและสามารถใช้แทน DES ได้ส่วน RC4 จะมีการเข้ารหัสเป็นชุดๆหรือเป็นสาย (stream) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วกว่า DES ประมาณ 10 เท่า โปรดดู cipher; Data Encryption Standard

RSA เป็นกระบวนการเข้ารหัสแบบคีย์สาธารณะที่มาจากชื่อของผู้คิดค้นคือ Rivest, Shamir และ Adeiman สามารถใช้คีย์ความยาวต่าง ๆ หรือเข้ารหัสข้อมูลที่เป็นบล๊อคความยาวต่าง ๆ กันได้ แต่ความยาวของแต่ละบล็อค จะต้องน้อยกว่าความยาวของคีย์ที่ใช้ โดยทั่วไปจะใช้คีย์ยาว 512 บิตในการเข้ารหัส โปรดดู public key (คีย์สาธารณะ)

Secured Electronic Transaction (SET) เป็นโปรโตคอลที่พัฒนาร่วมกันโดยบริษัท Visa และ MasterCard เพื่อใช้ ในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต บนอินเตอร์เน็ต โดยจะประกอบด้วยโปรโตคอลที่ใช้งานร่วมกับ โปรแกรมแฃเว็บ บราวเซอร์ และกระบวนการการมาตรฐานที่แนะนำให้ใช้ในการทำรายการชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศัพท์ IT ครั้งที่ 4


1.Certificate authourity  
(ผู้ออกใบรับรองดิจิตอล) องค์กรหรือบริษัทซึ่งเชื่อถือได้ที่เก็บคีย์สาธารณะของเรา พร้อมเอกสาร พิสูจน์ว่าเราเป็นบุคคลที่อ้างจริงหรือไม่

2.Certificate revocation list  
เป็นรายชื่อของคีย์ที่ถูกเพิกถอนการใช้งานซึ่งทาง certificate authourity (ผู้ออกใบรับรองดิจิตอล) รวบรวมเก็บไว้เพื่อตรวจสอบการใช้คีย์ โปรดดู certificate authority (Certificate authourity (ผู้ออกใบรับรองดิจิตอล) องค์กรหรือบริษัทซึ่งเชื่อถือได้ที่เก็บคีย์สาธารณะของเรา พร้อมเอกสารพิสูจน์ว่าเราเป็น บุคคลที่อ้างจริงหรือไม่ )

3.CGI script 
Common Gateway interface เป็นภาษาโปรแกรมแบบสคริปต์ (คล้ายกับการเขียน Batch file ใน DOS ) ซึ่งถูกออกแบบมาเฉพาะให้ทำงานกับ HTTP Web Server โดยทั่วไปจะใช้ภาษาสคริปต์ชื่อ Pent ในการเขียนโปรแกรม เพื่อติดต่อระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์กับระบบ

4.Cipher 
เป็นกฏการเข้ารหัสที่ใช้เปลี่ยนข้อมูลเดิมให้อยู่ในรูปข้อมูลที่มีการเข้ารหัสแล้ว

5.Commonditization
  ขบวนการที่ผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในท้องตลาดเริ่มมีความสามารถหรือคุณสมบัติคล้ายคลึง กัน จนราคากลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อสินค้า ทำให้บริษัทต้องลดราคาสินค้าลงคุณค่าของสินค้าลดน้อยลง เนื่องจากไม่แตกต่างจากสินค้าของบริษัทอื่น ในท้องตลาด บริษัทผู้ผลิตมักจะใช้การขายตัดราคากันในการแข่งขัน

6.CryptoAPI เป็น API (Application Programming interface)
  ของบริษัทไปโครซอฟท์ที่ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถ พัฒนาโปรแกรมและเรียกใช้ ฟังก์ชันทางด้านการเข้ารหัสได้โดยง่ายและเป็นมาตรฐานโดย CryptoAPI มีการ ออกแบบเป็นโมดูล ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม กระบวนการเข้ารหัส(encryption alagoreithm) ได้ตาม ต้องการนอกจากนี้ยังมีการทำงานที่สามารถใช้ช่วยจัดการใบรับรองดิจิตอลได้อีกด้วย โปรดดู digital certificate

7.Data Encryption Standard 
กระบวนการการเข้ารหัสแบบบล๊อคโดยใช้คีย์ความยาว 56 บิด (บล็อคขนาด 64 บิด) สร้างโดย IBM และได้รับ การรับรองเป็นทางการจากรัฐบาลสหรัฐฯ ในปี 1977 เป็นกระบวนการเข้ารหัสที่ทำงาน ค่อนข้างเร็วและมักใช้กับข้อมูลที่ต้องการข้ารหัส ครั้งละจำนวนมาก ๆ โปรดดู cipher; key

8.Diffie-Hellman 
ระบบการเข้ารหัสที่ทั้งผู้รับและผู้ส่งจะใช้คีย์ตัวเดียวกันที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน เป็นระบบการเข้ารหัสที่ เก่าแก่ที่สุดอันหนึ่งที่ยังมีการใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน แต่ระบบนี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับลายเซ็นดิจิตอล(digital signature) ได้

 9.Digital certificate
  (ใบรับรองดิจิตอล) เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยสถาบันผู้ออกใบรับรองดิจิตอลที่เชื่อถือได้ (cerfificate authority) เพื่อใช้ในการรับรองว่าบริษัทหรือบุคคลเป็นเจ้าของคีย์ที่ใช้จริง โปรดดู certificate authority

10.Digital signature
  เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เปรียบเสมือนการใช้ลายเซ็นรับรองลงบนเอกสารหรือรายการทาง อิเล็กทอนิคส์ต่าง ๆ ข้อมูลนี้จะถูกสร้างโดยกานนำ message digest; private key